วันอาทิตย์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2553

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่13


วันที่ 30 กันยายน 2553

อาจารย์ให้นักศึกษาเตรียมกระดาษลังมาคนละ 1 ชิ้น มาทำปายนิเทสโดยใช้สื่อการเรียน หน่วยต่างๆ ที่เกี่ยวกับเด็กปฐมวัย และอาจารย์ได้เตรียมวัสดุอุปกรณ์มาให้กับนักศึกษาด้วย

การทำชิ้นงานแต่ละครั้งนักศึกษาต้องมีการวางแผนขั้นตอนการทำก่อนเพื่อที่จะไม่สิ้นเปลืองวัสดุอุปกรณ์

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่12

วันที่ 23 กันยายน 2553

อาจารย์ให้นักศึกษานำแป้งโดว์มาส่งพร้อมกับอุปกรณ์การเล่นกับแป้งโดว์ จากนั้นอาจารย์ได้สรุปเรื่องของการผลิตสื่อ ประโยชน์ของสื่อ และการนำไปใช้

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่11


วันที่ 16 กันยายน 2553

อาจรย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มนำวัสดุอุปกรณ์มาทำแป้งโดว์ในห้องเรียน และได้สั่งให้นักศึกษาร่วมกัน ช่วยเหลือกันทำแป้งโดว์ ทำให้นักศึกษารู้สึกตื่นเต้นกับการทำแป้งโดว์เพราะยังไม่เคยได้ทำแป้งโดว์มาก่อน

อาจารย์สั่งให้นักศึกษาหาอุปกรณ์ที่สามารถนำมาเล่นกับแป้งโดว์มาส่งพร้อมกับแป้งโดว์ โดยไม่ต้องไปหาซื้อวัสสดุอุปกรณ์

วัสดุและอุปกรณ์

เกลือ 1/2 ถ้วย

แป้งสาลี 1 ถ้วย

สารส้มป่น 2 ช้อนโต๊ะ

น้ำ 1 ถ้วย

ทาทาครีม 1 ช้อนโต๊ะ หรือใช้น้ำมันมะกอกแทนก็ได้
สีผสมอาหาร

*วิธีทำ

นำเกลือแป้งสาลีสารส้มป่นผสมให้เข้ากันจากนั้นค่อยเติมนำและน้ำมันมะกอกทีละน้อยคนให้เข้ากันแล้วใส่สีผสมอาหารจากนั้นนำขึ้นตั้งไฟกวนจนแป้งไม่ติดภาชนะแล้วนำมานวด นำเก็บใส่ถาชนะให้มิดชิด(ไม่ต้องแช่เย็น)

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่10

วันที่ 9 กันยายน 2553

*อาจารย์สั่งให้นักศึกษานำป๊อบอัพมาส่ง

*อาจารย์ได้ให้นักศึกษาสอบกลางภาค

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่9

วันที่ 2 กันยายน 2553
อาจารย์สั่งให้นักศึกษากล่ม 101 และกล่ม 102มาเรียนด้วยกัน
อาจารย์ก็ได้ตรวจดูงานที่อาจารย์สั่งให้ไปทำว่าเสร็จหมดทุกอย่างใหม สถานที่ใต้ตึกของคณะศึกษาศาสตร์ แล้วขึ้นไปเรียนที่ห้องเรียนเพื่อที่จะให้นักศึกษาได้ดูชิ้น และได้เล่นเกมการศึกษาที่อาจารย์นำมาให้เล่น

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่8

วันที่ 19 สิงหาคม 2553

อาจารย์ได้พูดเกี่ยวกับเรื่องการไปอบรบในวันที่ 7 สิงหาคม 2553 แล้วให้นักศึกษาคนที่ไม่ได้ไปอบรมเซ็นชื่อพร้อมกับถามเหตุผลว่าทำไมไม่ได้ไปอบรม จากนั้นอาจารย์ได้ตรวจดูชิ้นงานของนักศึกษาแต่ละชิ้นว่าเรียบร้อยดีไหม แล้วอาจารย์ได้สั่งงานชิ้น ใหม่ คือป๊อบอัพ จำนวน 3 ชิ้น

วันเสาร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่7


วันที่ 29 กรกฎาคม 2553
เกมการศึกษา
เกมการศึกษาเพื่อพัฒนาความสามารถการคิดของเด็กปฐมวัย
เกมจับคู่ภาพและเงา

เนื้อหา

เกมจับคู่ภาพเงาเป็นการช่วยให้เด็กมีการจำและการสังเกตที่ดีของรูปภาพต่างๆเป็นการช่วยพัฒนาทางด้านประสาทความจำและการมองเห็นได้อย่างดี
จุดมุ่งหมาย
1.ฝึกการสังเกตภาพที่เป็นของจริงและภาพเงา
2.ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์
3.ฝึกทักษะการสังเกต

วิธีเล่น
1.ให้เด็กดูบัตรภาพของจริงกับภาพเงาแล้วนำมาจับคู่กัน
2.เด็กเลือกบัตรภาพที่มีภาพของจริงกับภาพเงาจับเข้าคุ่กัน
3.ครูตรวจคำตอบโดยวางบัตรภาพคำสั่งมาเข้าคู่กันกับบัตรที่เลือก ถ้าเหมือนกันแสดงว่าถูกต้อง

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่6

วันที่ 22 กรกฎาคม 2553
เกมการศึกษา คือ เกมที่เด็กเล่นแล้วเกิดการเรียนรู้และเกิดการเปลี่ยนแปลงความคิดสร้างสรรค์พร้อมกับความสนุกสนาน
ความสำคัญ
-ได้รับประสบการณ์ตรง จำได้นาน
-ทำให้สิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม
-รวดเร็ว เพลิดเพลิน เข้าใจง่าย
ลักษณะสื่อที่ดี
1.ต้องมีความปลอดภัย
-ประโยชน์ที่เด็กได้รับเหมาะสมกับความสามารถของเด็ก ความสนใจ
2.ประหยัด
-ประสิทธิภาพ
หลักการเลือกสื่อ
1.คุณภาพดี
2.เข้าใจงาย
3.เลือกให้เหมาะสมกับสภาพของศูนย์หรือของห้องเรียน
4.เหมะสมกับวัย
5.เหมาะสมกับเวลาที่ใช้งาน
6.เด็กได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม
7.ถูกต้องตามเนื้อหาและทันสมัย
8.เด็กได้คิดเป็นทำเป็นและกล้าแสดงออก

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่5

วันที่ 15 กรกฎาคม 2553




บันทึก
อาจารย์ให้นักศึกษานำสื่อของตัวเองมาหนึ่งอย่างที่ใช้เป็นสื่อการสอนออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน
สื่อการสอนสำหรับเด็ก
ดมิโน...ส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
สำหรับเด็ก 2 ขวบขึ้นไป
ประโยชน์ที่ได้รับ
1.เด็กสามารถเรียนรู้ผลไม้ชนิดต่างๆบนตัวโดมิโน
2.เด็กได้ฝึกการสังเกต
3.พัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
4.ทำให้เด็กมีพัฒนาการทางด้านสังคม
5.ฝึกความมีระเบียบวินัย

วันเสาร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่4


วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ 2553

การแบ่งประเภทสื่อประกอบด้วย


1.ประสบการณ์ตรง
เป็นประสบการณ์ที่ให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์โดยตรงจากของจริงสถานการณ์จริงหรือด้วยการกระทำของ
ตนเอง เช่นการจับต้องและการเห็นเป็นต้น


2.ประสบการณ์รอง
เป็นการเรียนจากสิ่งใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุดซึ่งอาจเป็นของจำลองหรือสถานการณ์จำลองก็ได้


3.ประสบการณ์นาฎการหรือการแสดง
เป็นการแสดงบทบาทสมมติหรือการแสดงละครเพื่อเป็นการจัดประสบการณ์ให้แกผู้เรียน


4.การสาธิต
เป็นการกระทำประกอบคำอธิบายเพื่อให้เห็นลำดับขั้นตอนของการกระทำนั้นๆ


5.การศึกษานอกสถานที่
เป็นการให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ต่างๆภายนอกห้องเรียนอาจเป็นการท่องเที่ยวเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ


6.นิทรรศการ
เป็นการจัดการแสดงสิ่งของต่างๆเพื่อให้สาระประโยชน์และความรู้แก่ผู้ชม


7.โทรทัศน์
เป็นสื่อการเรียนการสอนเพื่อให้ข้อมูลความรู้แก่ผู้เรียนหรือผู้ชมที่อยู่ในห้องเรียนหรืออยู่ทางบ้านและใช้ส่งได้ทั้งระบบวงจรเปิดและวงจรปิดการสอนอาจเป็นการสอนสดหรือบันทึกวิดีโอ


8.ภาพยนตร์
เป็นภาพเคลื่อนไหวที่บันทึกเรื่องราวเหตุการณ์บันทึกลงฟิล์มเพื่อให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์ทั้งภาพและเสียงโดยใช้ประสาทตาและหู


9.การบันทึกเสียง วิทยุ ภาพนิ่ง
เป็นได้ทั้งรูปของแผ่นเสียงหรือเทปบันทึกเสียง


10.ทัศนสัญลักษณ์
เช่นแผนที่ แผนสถิติหรือเครื่องหมายต่างๆแทนความเป็นจริงของต่างๆ


11.วงจรสัญลักษณ์
เป็นประสบการณ์ที่เป็นนามธรรมเช่นตัวหนังสือในภาษาเขียนและเสียงของคำพูดในภาษาพูด


หลักการในการเลือกสื่อการเรียนการสอน
1.สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้
2.ตรงกับลักษณะของเนื้อหาบทเรียน
3.เหมาะสมกับลักษณะของผู้เรียน
4.เหมาะสมกับจำนวนผู้เรียนและกิจกรรมการเรียนการสอน
5.เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม
6.น่าสนใจและดึงดูดการสนใจ
7.วิธีการใช้งาน เก็บรักษาและบำรุงรักษาได้สะดวก
ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกสื่อการเรียนการสอน
1.วิธีสอน
2.งานการเรียนรู้
3.ลักษณะของผู้เรียน
4.ข้อจำกัดในทางปฏิบัติ
5.ผู้สอนหรือครู
การแบ่งประเภทของสื่อ
*แบ่งตามประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียนที่ได้รับจากสื่อ
*แบ่งตามลักษณะของสื่อและวิธีการใช้งาน

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่3

วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ 2553
อาจารย์อธิบายความหมายของสื่อ
คุณค่าสื่อการเรียนการสอน
*ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจบทความมากขึ้น
*ช่วยให้ผู้เรียนสนใจในบทเรียนและใช้ประสาทสัมผัสรับรู้ได้
*สงเสริมความคิด รู้จักแก้ปัญหา และความคิดสร้างสรรค์
หลักการเลือกสื่อการสอน
*สื่อต้องสัมพันธ์กับมาตรฐานการเรียนรู้และผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
*เนื้อหาถูกต้อง ทันสมัย น่าสนใจ
*เหมาะสมกับวัย ระดับชั้น ความรู้ และประสบการณ์ของผู้เรียน
*สะดวก วิธีใช้ไม่ซับซ้อนยุ่งยากเกินไป
*มีคุณภาพ เทคนิคการผลิตที่ดี มีความชัดเจนเป็นจริง
*ไม่แพงเกินไปหรือถ้าจะผลิตเองควรคุ้มกับเวลาและการลงทุน
หลักการใช้สื่อการเรียนการสอน
1.เตรียมตัวผู้สอน
2.เตรียมจัดสภาพแวดล้อม
3.เตรียมพร้อมผู้เรียน
4.การใช้สื่อ
5.การผลิตตามผล

วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เข้าเรียนครั้งที่ 2


วันที่ 24 มิถุนายน 2553
จำกลุ่มทำกิจกรรมเป็นกลุ่มและ ตอบคำถาม
1.ในความคิดเด็กปฐมวัยคืออะไร
2.เราจะไปศึกษาในเรื่องใดจะรู้จักเด็กในเรื่องใด
3.คิดว่าเด็กปฐมวัยมีวิธีการเรียนรู้
4.นักศึกษารู้จักทฤษฎีอะไรบ้าง

งานเดี่ยว
ให้นักเรียนศึกษาหามาคนละทฤษฎี
Moral Reasoning แปลเป็นภาษาไทยได้ว่า "การให้เหตุผลทางจริยธรรม" โดยผู้ที่นำเสนอหัวข้อนี้ SHERIDEN PATRICK McCABE ได้นำเสนอว่าเหตุผลทางจริยธรรมที่เกิดขั้นในสังคมมนุษย์นั้นมีสาเหตุของการเกิดขึ้นมาได้หลายแบบ โดยได้ยกทฤษฎีของนักจิตวิทยา รวมทั้งนักภาษาศาสตร์ต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการกเรียนรู้, และที่มีอิทธิพลต่อเหตุผล การให้เหตุผลทางจริยธรรม อย่างเช่นของ โคลเบิร์ก กับเพียร์เจย์ หรือฟรอย์ด เป็นต้น ที่เราคุ้นเคยกับมาบ้างแล้ว โดยเฉพาะที่เขากล่าวถึงในเรื่องนี้คือ รอเรน โคลเบิร์ก เป็นตัวอย่างที่เขาได้ยกปรัชญานี้ขึ้นมา เพื่อพูดถึงเหตุผลการพัฒนาการทางด้านจริยธรรม โดยได้ยกตัวอย่างจากงานเขียนของรอเรน โคลเบิร์ก แต่อย่างไรก็ตามเนื้อหาที่จะนำเสนอต่อไปนี้ เกี่ยวกับการพัฒนาทางด้านจริยธรรม