วันเสาร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่4


วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ 2553

การแบ่งประเภทสื่อประกอบด้วย


1.ประสบการณ์ตรง
เป็นประสบการณ์ที่ให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์โดยตรงจากของจริงสถานการณ์จริงหรือด้วยการกระทำของ
ตนเอง เช่นการจับต้องและการเห็นเป็นต้น


2.ประสบการณ์รอง
เป็นการเรียนจากสิ่งใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุดซึ่งอาจเป็นของจำลองหรือสถานการณ์จำลองก็ได้


3.ประสบการณ์นาฎการหรือการแสดง
เป็นการแสดงบทบาทสมมติหรือการแสดงละครเพื่อเป็นการจัดประสบการณ์ให้แกผู้เรียน


4.การสาธิต
เป็นการกระทำประกอบคำอธิบายเพื่อให้เห็นลำดับขั้นตอนของการกระทำนั้นๆ


5.การศึกษานอกสถานที่
เป็นการให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ต่างๆภายนอกห้องเรียนอาจเป็นการท่องเที่ยวเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ


6.นิทรรศการ
เป็นการจัดการแสดงสิ่งของต่างๆเพื่อให้สาระประโยชน์และความรู้แก่ผู้ชม


7.โทรทัศน์
เป็นสื่อการเรียนการสอนเพื่อให้ข้อมูลความรู้แก่ผู้เรียนหรือผู้ชมที่อยู่ในห้องเรียนหรืออยู่ทางบ้านและใช้ส่งได้ทั้งระบบวงจรเปิดและวงจรปิดการสอนอาจเป็นการสอนสดหรือบันทึกวิดีโอ


8.ภาพยนตร์
เป็นภาพเคลื่อนไหวที่บันทึกเรื่องราวเหตุการณ์บันทึกลงฟิล์มเพื่อให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์ทั้งภาพและเสียงโดยใช้ประสาทตาและหู


9.การบันทึกเสียง วิทยุ ภาพนิ่ง
เป็นได้ทั้งรูปของแผ่นเสียงหรือเทปบันทึกเสียง


10.ทัศนสัญลักษณ์
เช่นแผนที่ แผนสถิติหรือเครื่องหมายต่างๆแทนความเป็นจริงของต่างๆ


11.วงจรสัญลักษณ์
เป็นประสบการณ์ที่เป็นนามธรรมเช่นตัวหนังสือในภาษาเขียนและเสียงของคำพูดในภาษาพูด


หลักการในการเลือกสื่อการเรียนการสอน
1.สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้
2.ตรงกับลักษณะของเนื้อหาบทเรียน
3.เหมาะสมกับลักษณะของผู้เรียน
4.เหมาะสมกับจำนวนผู้เรียนและกิจกรรมการเรียนการสอน
5.เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม
6.น่าสนใจและดึงดูดการสนใจ
7.วิธีการใช้งาน เก็บรักษาและบำรุงรักษาได้สะดวก
ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกสื่อการเรียนการสอน
1.วิธีสอน
2.งานการเรียนรู้
3.ลักษณะของผู้เรียน
4.ข้อจำกัดในทางปฏิบัติ
5.ผู้สอนหรือครู
การแบ่งประเภทของสื่อ
*แบ่งตามประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียนที่ได้รับจากสื่อ
*แบ่งตามลักษณะของสื่อและวิธีการใช้งาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น